ความรู้
: บาร์โค้ด 1D และ 2D ,ข้อดีของ 2D BARCODE
|
บาร์โค้ด 1 มิติ (1 Dimension Barcode)
บาร์โค้ด 1 มิติมีลักษณะเป็นแถบประกอบด้วยเส้นสีดำสลับกับเส้นสีขาว
ใช้แทนรหัสตัวเลขหรือตัวอักษรโดยสามารถบรรจุข้อมูลได้ประมาณ 20 ตัวอักษร
การใช้งานบาร์โค้ดมักใช้ร่วมกับฐานข้อมูลคือเมื่ออ่านบาร์โค้ดและถอดรหัสแล้วจึงนำรหัสที่ได้ใช้เรียกข้อมูลจากฐานข้อมูลอีกต่อหนึ่ง
บาร์โค้ด 1 มิติมีหลายชนิด เช่น UPC EAN-13 หรือ ISBN ดังรูปที่ 1 เป็นต้น
ซึ่งบาร์โค้ด 1
มิติเหล่านี้สามารถพบได้ตามสินค้าทั่วไปในซูเปอร์มาร์เก็ตหรือห้างสรรพสินค้า
บาร์โค้ด 2 มิติ (2 Dimension Barcode)
บาร์โค้ด 2 มิติเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาเพิ่มเติมจากบาร์โค้ด 1 มิติ
โดยออกแบบให้บรรจุได้ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน [1]
ทำให้สามารถบรรจุข้อมูลมากได้ประมาณ 4,000 ตัวอักษรหรือประมาณ 200
เท่าของบาร์โค้ด 1 มิติในพื้นที่เท่ากันหรือเล็กกว่า
ข้อมูลที่บรรจุสามารถใช้ภาษาอื่นนอกจากภาษาอังกฤษได้ เช่น ภาษาญี่ปุ่น จีน
หรือเกาหลี เป็นต้นและบาร์โค้ด 2
มิติสามารถถอดรหัสได้แม้ภาพบาร์โค้ดบางส่วนมีการเสียหาย
อุปกรณ์ที่ใช้อ่านและถอดรหัสบาร์โค้ด 2
มิติมีตั้งแต่เครื่องอ่านแบบซีซีดีหรือเครื่องอ่านแบบเลเซอร์เหมือนกับของบาร์โค้ด
1
มิติจนถึงโทรศัพท์มือถือแบบมีกล้องถ่ายรูปในตัวซึ่งติดตั้งโปรแกรมถอดรหัสไว้
ในส่วนลักษณะของบาร์โค้ด 2 มิติมีอยู่อย่างมากมายตามชนิดของบาร์โค้ด เช่น
วงกลม สี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือสี่เหลี่ยมผืนผ้าคล้ายกับบาร์โค้ด 2 มิติ
ดังรูปที่ 2 เป็นต้น ตัวอย่างบาร์โค้ด 2 มิติ ได้แก่ PD417, MaxiCode, Data
Matrix, และ QR Code
บาร์โค้ด 2 มิติ (2D) ดีกว่า บาร์โค้ด 1 มิติ (1D) อย่างไร
เป็นที่ทราบว่า บาร์โค้ดแบบ 1D เป็นการอ่านบาร์โค้ดตามแนวยาว
คือ อ่านจากระยะห่างและความหนาของแท่ง ซึ่งความยาวของบาร์โค้ด
ก็จะแปรผันตามจำนวนข้อมูล ยิ่งมาก็ยิ่งยาว เช่น ตัวเลข50ตัวอาจจะ
ต้องใช้ความยาวมากกว่า20ซม. และเมื่อยิ่งยาวโอกาสอ่านผิดพลาด
ก็มีสูงเนื่องจากเครื่องอ่านรับข้อมูลได้ไม่หมด
เปรียบเทียบขนาดความยาวของ บาร์โค้ด
1D (ซ้าย) และ บาร์โค้ด 2D
(ขวา)
ดังนั้นเมื่อพัฒนาการของเครื่องอ่านบาร์โค้ดสูงขึ้น จึงมีความสามารถสแกน
ในลักษณะ Image หรือรูปถ่ายเหมือนกล้องดิจิตอล แล้วมาประมวลผลเพื่ออ่านค่า
บาร์โค้ดแบบ 2D
จึงเกิดขึ้นโดยเพิ่มแกนด้านสูงขึ้นมาทำให้รับข้อมูลได้มากขึ้น
ข้อมูลที่มากขึ้นนี้ เป็นจุดเด่นของบาร์โค้ดแบบ 2D ที่จะนำไปประยุกต์
ที่การใช้งาน
สูงขึ้นได้
ข้อดี ในการประยุกต์ใช้งาน
1. ให้ข้อมูลที่มากขึ้นแก่ผู้บริโภค เช่น
- ระบุวันผลิต วันหมดอายุ
- ระบุแหล่งผลิต,ที่อยู่,เบอร์ติดต่อ,อีเมล์,เว็บไซต์
- หมายเลข Lot
2. ให้ข้อมูลที่มากขึ้น หากใช้ในองค์กร เช่น
- ระบุหมายเลขใบสั่งซื้อ,Supplier
- ระบุตำแหน่ง,ผู้รับผิดชอบ,เจ้าของ
- ระบุหมายเลข LOT,ใบสั่งผลิต,สถานะวัสดุ
จะเห็นว่า สามารถเพิ่มรายละเอียดเพื่อแสดงตัวตนของวัตถุได้ชัดเจนขึ้น
สอบกลับข้อมูลได้ รู้ที่มาที่ไป เป็นประโยชน์ต่อการจัดการ
ป้องกันความผิดพลาด
ลดความสับสน กรณีในองค์กรมีสิ่งที่ทับซ้อนกัน
ข้อดี ในเครื่องอ่าน 2D
Barcode Reader
เครื่องอ่านแบบ 2D ในปัจจุบันถือว่า มีความแม่นยำสูง
เพราะเป็นการถ่ายรูปป้าย
ทั้งหมดแล้วมาวิเคราะห์ อ่านได้ทั้ง 1D และ 2D ทำให้สามารถใช้งานร่วมกันได้
และสแกนได้ทุกทิศทาง และเท่าทดสอบ พบว่า เครื่องอ่านแบบ2D
เมื่อนำไปอ่านแบบ1D เทียบกับเครื่องอ่านLaser พบว่า เครื่องอ่านแบบ2D
ทำได้ดีกว่า มีสำเร็จมากกว่า สามารถสแกนป้ายที่สแกนยากได้ดีกว่า
|
|