|
บาร์โค้ดมีหลากหลายมาตรฐานในการจัดทำ สิ่งที่เหมือนกัน คือ
รูปร่างเป็นแท่งขาวสลับดำ ที่มีความห่างแตกต่างกัน
แต่สิ่งที่แตกต่างคือ ขนาดของความยาว,ความสามารถในแปลตัวอักษร
บางชนิดอาจจะแต่ตัวเลข บางชนิดใช้ได้
ทั้งตัวเลขและตัวอักษร
การเลือกใช้มาตรฐานบาร์โค้ด
เริ่มต้นจากธุรกิจ ก็ต้องดูที่คู่ค้า ที่ต้องมีการใช้โค้ดร่วมกัน
มีการใช้แบบเจาะจง เราใช้ตามคู่ค้าของเราก็ยอมเป็นผลดี
ต่อการใช้งานร่วมกัน
แต่หากใช้เฉพาะภายในองค์กร ก็แล้วแต่
ผู้ที่รับผิดชอบจะตัดสินใจว่าจะใช้แบบใด บางมาตรฐานจะต้องมีformatตายตัว บางครั้งใช้งานไม่สะดวก
บางแบบมีformatที่ยืดหยุ่นผู้ใช้สามารถเลือกพิมพ์ด้ามต้องการก็มี มาตรฐานกับงานที่นิยมใช้มีดังนี้
1. สำหรับสินค้าปลีก,ซุปเปอร์มาร์เก็ต : UPC,EAN,ISBN-13
2. ไปรษณีย์ (อเมริกา) : POSTNET
3. สำหรับงานลอจิสติก ชิบปิ้ง สินค้าคงคลัง การกระจายสินค้า :
Code128,Code39,Interleaved 2of5 (ITF)
มาตรฐานบาร์โค้ด 1D
1. 2 of 5 (non-interleaved)
ปัจจุบันพบน้อยมาก ยังมีการใช้อยู่บ้าง เช่น ตั๋วสายการบิน ห้องแลบภาพ 2 of
5 เป็นโค้ดที่ใช้ในการเข้ารหัสข้อมูลที่เก่าแก่ที่สุด
2 of 5 (non-interleaved) และ 2 of 5 (interleaved) หลายคนมักสับสน เพราะ 2
of 5 (interleaved) ยังมีความนิยมแพร่หลายอยู่
ซึ่งถือว่า เป็นคนละโค้ดกัน และเครื่องหรือโปรแกรมอาจจะไม่สนับสนุน
ดังนั้นต้องดูให้แน่ใจว่าเป็น non-interleaved หรือ interleaved
2. bookland
เป็นบาร์โค้ดรุ่นเก่าที่ใช้กับพวกหนังสือ ปัจจุบันถูกแทนที่ด้วย ISBN-13
บางครั้งสองคำนี้จะใช้เรียกแทนกัน
3. Codabar
เป็นบาร์โค้ด ที่ใช้ใน FED-EX,ห้องสมุด,ธนาคารเลือด
4. Code 128
จัดเป็นโค้ดที่มีความนิยมมาก มันมีความหนาแน่น กะทัดรัด การบีบข้อมูล
ที่ดีกว่า Code39
Code 128 สามารถสนันสนุน ได้ 128 ASCII ตัว(ทั้งตัวเลขและอักษร)
นิยมใช้ในงานชิบปิ้ง
มีการแบ่งกลุ่มเป็น3แบบคือ
set A : ASCII characters 00 to 95 (0-9, A-Z and control codes), special
characters, and FNC 1-4
set B : ASCII characters 32 to 127 (0-9, A-Z, a-z), special characters,
and FNC 1-4
set C : 00-99 (encodes each two digits with one code) and FNC1
หากต้องใช้ ตัวอักษร และ/หรือ ตัวเลข Code128
จึงที่เป็นที่เหมาะสมในการนำมาใช้งาน
อีกทั้งมีความยืดหยุ่น
ในการบรรจุตัวอักขระ เพราะไม่ล๊อคตายตัว
สามารถพิมพ์อักษรหรือตัวเลขที่ต้องการได้เลย
5. Code 39 (Code 3 of 9)
เป็นโค้ดรุ่นเก่า แต่ยังมีความนิยมในการใช้งานอยู่ ใช้กับงาน Inventory
และตรวจติดตาม สามารถบรรจุได้ทั้งตัวเลขและ
ตัวอักษร สามารถพิมพ์ได้หลายขนาด โดยแบบพื้นฐานจะรองรับอักษร A-Z ,0-9
6. Code 93
เป็นโค้ดที่ไม่ค่อยมีการใช้งาน ขนาดกะทัดรัด ใช้ในงานชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิค
และเนื่องจาก ชื่อที่คล้ายคลึงระหว่าง
Code 93 และ Code 39 ซึ่งทำให้เข้าใจผิดได้
ดังนั้นหากมีการใช้งานในโค้ดดังกล่าว จะตัดซื้ออุปกรณ์หรือซอฟแวร์
ต้องแน่ใจว่า ตรงกับที่จะใช้งาน
7. EAN
EAN ย่อมาจาก European Article Number นิยมใช้กับสินค้าปลีก ใน สหรัฐ และ
ญี่ปุ่น และแพร่หลายในอุตสาหกรรมค้าปลีก
ทั่วโลก
8. GS1-128 (EAN-128)
GS1-128 เป็นโค้ดพิเศษ ของ Code128 ที่มีการถอดรหัสกับระบบ GS1
9. Interleaved 2 of 5 (ITF)
เป็นโค้ดที่เป็น ตัวเลขเท่านั้น มีขนาดเล็ก
เพราะมีการเข้ารหัสทั้งในแถบและช่องว่าง
ใช้ในกล่องกระดาษลูกฟูกในอุตสาหกรรม
ขนส่งสินค้า
10. ISBN-13
เป็นโค้ดค้าปลีก พวกหนังสือ นิตยสาร หรือผลิตภัณฑ์อื่นที่เกี่ยวกับหนังสือ
โดยมีส่วนประกอบจาก EAN13และ supplemental code
5ตัว ซึ่งจะแสดง IDของหนังสือและราคาปก
11. ISSN
ใช้ในอุตสาหกรรมงานพิมพ์ วารสารอิเล็กทรอนิค
12. MSI Plessey
ตัวเลขสัญลักษณ์ ที่ใช้ในห้องสมุด
13.POSTNET
บาร์โค้ดที่ใช้ในการเข้ารหัสรหัสไปรษณีย์ของไปรษณีย์สหรัฐ
ซึ่งมีแตกต่างจากบาร์โค้ดอื่น ๆ
มีความพิเศษที่แตกต่าง คือ
จะมีความสูงของแท่งไม่เท่ากันและระยะห่างระหว่างแถบเท่ากัน
ซึ่งบรรจุึข้อมูลของรหัสไปรษณีย์และพื้นที่จัดส่ง
14. UPC
UPC ย่อมาจาก Universal Product Code ใช้มากกับสินค้าปลีกในสหรัฐและแคนนาดา
อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์
15. Supplemental barcode
เป็นโค้ดที่เพิ่มเติมทางด้านขวา พบใน UPC, EAN หรือ ISBN-13
จะเป็นตัวอักขระที่เพิ่มมา2-5ตัว
มาตรฐานบาร์โค้ด 2D
1. QR-Code
QR (Quick Response) ประดิษฐ์คิดค้นโดย บริษัท เด็นโซ่เวฟ
จัดเป็นบาร์โค้ดยอดนิยม ที่เครื่องอ่าน2Dทั่วไปทุกยี่ห้อ
สามารถสแกนได้ มักจะอ่านได้ดี และโปรแกรมsmartphoneหลายตัวก็สามารถอ่านได้
เรียกว่าสามารถอ่านได้ง่าย ซึ่งเราจะเคยพบสิ่งพิมพ์
ลงในสื่อต่างๆเมื่อสแกนมาก็เป็นที่อยู่เว็บ มีความหนาแน่นสูง
ทำให้บรรจุอักษรได้มาบนพื้นที่เล็กๆ ขนาดจะเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส
ทำให้พื้นที่น้อย
และไม่ต้องมีFormatในการบรรจุข้อมูล
สามารถใส่ได้ตามต้องการ
2. MaxiCode
ประกอบด้วย จุดเหมือนรังผึ้ง รอบๆกระจาย วงกลมตรงกลาง
พบในการใช้ส่งพัสดุของสหรัฐ ต้องใส่ข้อมูลลงตาม Formatที่กำหนด
3. PDF417
คิดค้นโดย Symbol Technologies บรรจุได้ถึงประมาณ 1100ตัว
มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีแถบเริ่มต้นและแถบปิดท้าย
ทำให้กินพื้นที่มากขึ้นกว่าโค้ดอื่นๆ ไม่ต้องมีFormatในการบรรจุข้อมูล
สามารถใส่ได้ตามต้องการ
4. Data Matrix
หากดูผิวเผินจะคล้ายกับ Qr code แต่จริงๆแล้วไม่เหมือนกัน
การอ่านและถอดรหัสจะทำในเส้นทแยงมุุม(QR จะอ่านตามแนวตรง)
พบในผลิตภัณฑ์จากทางสหรัฐและยุโรป จุดอ่อน คือ ต้องใส่ข้อมูลลงตาม
Formatที่กำหนด
|