ข้อเปรียบเทียบ เครื่องพิมพ์ทั่วไป และเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดโดยเฉพาะ
ในการพิมพ์บาร์โค้ด
|
หลายท่านยังมีความสับสนว่า จะพิมพ์บาร์โค้ด
ต้องใช้เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดโดยเฉพาะ(Barcode Printer)
ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เราสามารถพิมพ์บาร์โค้ด เพื่อใช้งานต่างๆ
สามารถพิมพ์จากเครื่องพิมพ์ทั่วไปได้
เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ แบบInkjet หรือแบบหัวกระแทก(Dot
Matrix)
แต่ผลิตภัณฑ์แต่ละตัว จะมีความโดดเด่นในแต่ละงานต่างกัน ดังนั้น
เราจะมาอธิบายกันว่าแต่ละแบบเหมาะสมกับ
ผู้ใช้ประเภทใด
1. เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดโดยเฉพาะ(Barcode
Printer)
- มีความเร็วในพิมพ์สูง รวดเร็ว
- มีตัวเลือกต่างๆ ที่เหมาะกับการพิมพ์เพื่อนำไปใช้งานได้ทันที เช่น
การตัดตามขนาด ,ตัดตามแบบ,ลอกสติ๊กเกอร์อัตโนมัติ,เก็บเศษสติกเกอร์
- เหมาะกับบาร์โค้ดที่ต้องมีการเปลี่ยนรายละเอียดบ่อยครั้ง เช่น การรันPart
No.,การพิมพ์แบบเปลี่ยนรูปแบบ ขนาด รูปร่างบ่อยครั้ง
ก็คือการพิมพ์แต่ละครั้งต้องการผลที่แตกต่างกันอยู่บ่อยๆ
- มีฟังก์ชั่นการพิมพ์บาร์โค้ด ทำให้ได้บาร์โค้ดที่มีขนาดถูกต้องตามมาตรฐาน
และเมื่อไปใช้โอกาสที่จะสแกนผิดพลาดมีน้อย แต่ ฟังก์ชั่นนี้
ต้องเขียนผ่านโปรแกรมโดยเฉพาะ เช่น ภาษา ZPL , ZPL II
- ราคาแพง ต้องมีการใช้ในปริมาณมากๆ เพื่อให้ค่าใช้จ่ายต่อดวงลดลง
ซึ่งราคาก็จะเกิดขึ้น จาก 3ส่วน คือ
ราคาตัวเครื่อง,ราคาวัสดุสิ้นเปลื้อง กระดาษ หมึก,
ราคาในการพัฒนาโปรแกรมเฉพาะ
เพราะเพียงเครื่องพิมพ์แม้สามารถพิมพ์จากโปรแกรมใดก็ได้
แต่เมื่อต้องการใช้ฟังก์ชั่นของBarcode Printer ที่สมบูรณ์
และการทำงานที่รวดเร็ว จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนาโปรแกรมขึ้นมาเฉพาะงาน
สรุป
เหมาะกับการที่ต้องใช้จำนวนมาก
มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยๆและต้องการความเร็วในทำงาน ให้ผลงานคุณภาพการพิมพ์สูง
2.
เครื่องพิมพ์เลเซอร์/เครื่องพิมพ์ความร้อน ทั่วไป (Laser printer,Thermal
Printer)
- มีความเร็วในพิมพ์สูง รวดเร็ว
- มีความคมชัดสูง พิมพ์บาร์โค้ดขนาดเล็กๆละเอียดได้
แต่ความถูกต้องของบาร์โค้ดขึ้นกับโปรแกรมที่ใช้
เพราะเครื่องพิมพ์จะต้องให้โปรแกรมแปลงเป็นภาพกราฟฟิคก่อน
แล้วจึงพิมพ์ออกมา
- กันน้ำ หมึกติดทนนาน
- ต้องพิมพ์โดยใช้กระดาษ ตามขนาดของเครื่อง อาจจะกระดาษ/สติกเกอร์
ที่มีการตัดdie cut ไว้เป็นมาตรฐาน
เช่นชนิด 2x10 ดวง 4x16ดวง จึงเหมาะกับการพิมพ์ซ้ำๆ ใช้รูปแบเบเดิม
ปริมาณมาก
- ราคาเครื่องปัจจุปันถือว่าไม่แพง แต่ต้นทุนค่าหมึก Toner
ถือว่าค่อนข้างแพง
สรุป
เหมาะกับงานพิมพ์ ที่ต้องการคุณภาพสูงทนทาน พิมพ์ซ้ำในแบบเดิมๆ
ในปริมาณมากๆ
3. เครื่องพิมพ์แบบหมึก ทั่วไป (Inkjet
Printer)
- มีความเร็วในพิมพ์ต่ำ-กลาง
- มีความคมชัดไม่ดี มีการเยิ้มของหมึก หากพิมพ์บาร์โค้ดขนาดกว้าง 1-2นิ้ว
ก็สามารถสแกนได้
แต่ถ้าเป็นบาร์โค้ดขนาดเล็กๆ เช่น มีแท่งบาร์โค้ด10แท่งบนความกว้าง 1ซม.
ความเยิ้มของหมึกจะทำให้มีปัญหาการสแกนไม่ติดได้
- ไม่กันน้ำ หมึกติดไม่ทน
- ต้องพิมพ์โดยใช้กระดาษ ตามขนาดของเครื่อง อาจจะกระดาษ/สติกเกอร์
ที่มีการตัดdie cut ไว้เป็นมาตรฐาน
เช่นชนิด 2x10 ดวง 4x16ดวง จึงเหมาะกับการพิมพ์ซ้ำๆ ใช้รูปแบเบเดิม
ปริมาณมาก
- ราคาเครื่องปัจจุปันถือว่าถูก แต่ต้นทุนค่าหมึก ก็ถูกมาก
สรุป
เหมาะกับงานพิมพ์ สำหรับผู้เริ่มต้น จะนำบาร์โค้ดมาใช้งาน
หรือใช้ในธุรกิจเล็กๆที่ไม่ได้มีการใช้จำนวนมากๆ
ตัวอย่าง1 บาร์โค้ดขนาดเล็ก
มีแท่งบาร์โค้ดประมาณ 30 แท่งบนความกว้าง 1 ซม.
การพิมพ์ต้องใช้เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดโดยเฉพาะจึงสามารถพิมพ์ได้
|
|